วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2563

ข้อสอบบทที่ 3

 1.สารชีวโมเลกุลชนิดใดมีมากที่สุดของน้ำหนักแห้งในร่างกายคน

1 : ไขมัน

2 : โปรตีน

3: คาร์ไบไฮเดรต

4 : กรดนิวคลีอิก


2.สารในข้อใดเมื่อนำมาทดสอบกับสารละลายเบเนดิกต์แล้วให้ผลการทดสอบที่ถูกต้องที่สุด

1.เมื่อนำน้ำแป้งมาทดสอบกับสารละลายเบเนดิกต์จะเกิดตะกอนสีแดงอิฐ

2.เมื่อนำน้ำองุ่นมาทดสอบกับสารละลายเบเนดิกต์จะเกิดตะกอนสีแดงอิฐ

3.เมื่อนำน้ำผึ้งมาทดสอบกับสารละลายเบเนดิกต์จะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง

4.เมื่อนำน้ำแอปเปิลมาทดสอบกับสารละลายเบเนดิกต์จะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง


3. ข้อใดไม่ใช่แก๊สเรือนกระจก

1. คาร์บอนไดออกไซด์

2. ออกไซด์ของไนโตรเจน

3. คาร์บอนมอนอกไซด์

4. มีเทน


4. กรดไขมันชนิดใดต้องใช้ไอโอดีนมากที่สุดในการทําปฏิกิริยา

1) กรดโอเลอิก

2) กรดลอริก

3) กรดไลโนเลนิก

4) กรดไลโนเลอิก


5.ข้อใดไม่ใช่เชื้อเพลิงฟอสซิล (O-net 53)

1. น้ำมันปิโตรเลียม        2. แก๊สธรรมชาติ        3. ถ่านหิน           4. ถ่านกัมมันต์

6.นาย ก ได้ช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยการนำเอารองเท้านักเรียนที่ชำรุดไปติดกาวใหม่ เพื่อนำมาใช้ได้อีก วิธีดังกล่าวเรียกว่าอะไร (O-net 53)

1. reduce           2. reuse              3. recycle           4. repair


7. สารพันธุกรรมเป้นสารประเภทใด?

1.คาร์โบไฮเดรต        2.โปรตีน      3.พิลิด      4.กรดนิวคลีอิก

8. 18.น้ำมันชนิดใดต่อไปนี้จะเกิดการเหม็นหืนได้ง่ายที่สุด ?

1.น้ำมันมะพร้าว        2.น้ำมันถั่วเหลือง         3.น้ำมันรำข้าว         4.น้ำมันดอกทานตะวัน



9. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่สารประเภทโปรตีน ?

1.ใยแมงมุม        2.เขาสัตว์      3.คอเลสเทอรอล           4.ฮีโมโกลบิน

10. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับสมบัติของตัวทำละลายในอุตสาหกรรมเคมีที่ได้จากปิโตรเลียม

1. มีจุดเดือดสูงกว่าน้ำมันดีเซล

2. เป็นสารไฮโดรคาร์บอนที่ละลายน้ำได้

3. มีสถานะเป็นของเหลวที่อุณหภูมิและความดันปกติ

4. ประกอบด้วยสารไฮโดรคาร์บอนที่มีจำนวนคาร์บอนน้อยกว่า 5 อะตอม




เฉลย


1.  2

2.  2

 3. 3

4. 3

5.  4

6.   4

7.  4

8. 1

9. 3

10.  3


ข้อสอบบทที่ 2

 1. สารละลายที่เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างธาตุ หมู่ 1 กับน้ำ มีสมบัติอย่างไร

ก. เป็นกลาง
ข. เป็นได้ทั้งกรดและเบส
ค. เป็นกรด
ง.  เป็นเบส

2. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับพันธะเคมี
ก. รับอิเล็กตรอนจากอะตอมอื่น
ข. ใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน
ค. แย่งอิเล็กตรอนกับอะตอมอื่น
ง. ให้อิเล็กตรอนกับอะตอมอื่น

3. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสมบัติของสารประกอบไอออนิก
ก. จัดเรียงตัวเป็นผลึก
ข. เกิดจากการรวมตัวของไอออนบวกกับไอออนลบ
ค. มีผลรวมของประจุสุทธิ เป็น ศูนย์
ง. นำไฟฟ้าได้ทุกสถานะ

4. เหตุใดสารโคเวเลนท์จึงมีจุดเดือด จุดหลอมเหลวต่ำ
ก. สารโคเวเลนท์มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้อย
ข. สารโคเวเลนท์มักสลายตัวได้ง่าย
ค. สารโคเวเลนท์ไม่มีประจุไฟฟ้า
ง. สารโคเวนเลนท์มักมีโมเลกุลขนาดเล็ก


5. พันธะเดี่ยว หมายถึงอะไร
ก. อะตอมของธาตุรวมกันอยู่โดยใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน 1 คู่
ข. อะตอมของธาตุใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน 1 คู่
ค.  อะตอมของธาตุใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน 1 คู่อะตอม
ง. โมเลกุลของธาตุใช้ร่วมกันอยู่ 1 โมเลกุล

6. อะตอมของธาตุที่มีการถ่ายประจุแล้วมีโปรตอนมากกว่าอิเล็กตรอนเราเรียกอะตอมของธาตุนั้นว่าเป็นไอออนชนิดใด
ก. ไอออนบวก
ข. ไอออนลบ
ค. ไอออนเสถียร
ง. ไอออนสมดุล

7. ข้อใดจัดว่าเป็นแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล

ก. พันธะไอออนิก
ข. พันธะโควาเลนต์
ค. พันธะไฮโดรเจน
ง. พันธะโลหะ

8. การที่อะตอมพยายามปรับตัวเองให้อยู่ในสภาพเสถียรโดยทำให้อิเล็กตรอนวงนอกสุดเท่ากับ 8 เราเรียกกฎนี้ว่าอะไร
ก. กฎออกซิเดชั่น
ข. กฎออกเตต
ค. กฎโคเวเลนต์
ง. กฎไอออนิก

9. พันธะเคมี หมายถึง อะไร
ก. แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอม
ข. พลังงานที่ทำให้อะตอมสลายตัว
ค. การอยู่รวมกันของอะตอม
ง. การอยู่รวมกันของโมเลกุล

10. การเกิดสารประกอบไอออนิกส่วนใหญ่จะเกิดจาก ธาตุประเภทใดมารวมตัวกัน
ก. เกิดได้ทั้งหมด
ข. โลหะ กับ โลหะ
ค. อโลหะ กับ อโลหะ
ง. โลหะ กับ อโลหะ


เฉลย

1. ง. 
2. ค. 
3. ง. 
4. ก. 
5. ง. 
6. ก. 
7. ค. 
8. ข. 
9. ก. 
10 ง. 

ข้อสอบบทที่ 1

 1. จากผลการทดลองของทอมสัน  ทำให้ทอมสันได้ข้อมูลเกี่ยวกับอะตอมมากขึ้นเขาจึงเสนอแบบจำลองอะตอมว่าอย่างไร

1.อะตอมประกอบด้วยอนุภาคอิเล็กตรอนที่มีประจุเป็นลบ    อนุภาคโปรตอนมีประจุเป็นบวก
2.สารทุกชนิดประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็กที่สุดเรียกว่า “ อะตอม”
3.อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันจะมีสมบัติเหมือนกันทุกประการ
4.อิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่รอบนิวเคลียสเป็นชั้นๆ ตามระดับพลังงาน  และแต่ละชั้นจะมีพลังงานเป็นค่าเฉพาะตัว

2. ไอโซโทป ( Isotope ) หมายถึงอะไร
1.  อะตอมของธาตุชนิดเดียวกัน มีเลขอะตอมเท่ากัน   แต่มีเลขมวลต่างกัน 
2.  อะตอมของธาตุต่างชนิดกันที่มีเลขมวลเท่ากัน   แต่มีเลขอะตอมไม่เท่ากัน 
3.  อะตอมของธาตุต่างชนิดกันที่มีเลขมวลเท่ากัน   แต่มีเลขอะตอมไม่เท่ากัน 
4.  อะตอมของธาตุต่างชนิดกันแต่มีจำนวนนิวตรอนไม่เท่ากัน

3.ไอโซบาร์ (  Isobar )   หมายถึงอะไร
1. อะตอมของธาตุต่างชนิดกันแต่มีจำนวนนิวตรอนไม่เท่ากัน
2. อะตอมของธาตุชนิดเดียวกัน มีเลขอะตอมเท่ากัน   แต่มีเลขมวลต่างกัน 
3. อะตอมของธาตุต่างชนิดกันที่มีเลขมวลเท่ากัน   แต่มีเลขอะตอมไม่เท่ากัน 
4. อะตอมของธาตุต่างชนิดกันที่มีเลขมวลเท่ากัน   แต่มีเลขอะตอมไม่เท่ากัน 

4. ธาตุแบ่งออกได้เป็นกี่สถานะ
1.5สถานะ
2.6สถานะ
3.3สถานะ
4.4สถานะ

5. ข้อใดไม่ใช่สมบัติทั่วไปของสารละลายกรด(4)
1. มีรสเปรี้ยว
2 . เปลี่ยนกระดาษลิตมัสจากน้ำเงินเป็นแดง
3. นำไฟฟ้าได้
4. มีค่า pH มากกว่า 7

6.ข้อใดไม่ใช่แบบจำลองอะตอมของดอลตัน
1.  อะตอมมีขนาดเล็กแบ่งแยกไม่ได้
2.  อะตอมของธาตุต่างชนิดมีมวลนิวตรอนเท่ากันได้
3.  อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันมีสมบัติเหมือนกัน
4.  ธาตุทำปฏิกิริยาด้วยอัตราส่วนเลขลงตัวน้อย ๆ

7. รังสีแคโทดเกิดจากส่วนใด
1.  ขั้วแคโทด
2.  แก๊สที่บรรจุภายใน
3.  ขั้วแคโทด  และแก๊สที่บรรจุภายใน
4.  ขั้วแคโทด  ขั้วแอโนดและแก๊ส

8.ถ้านำแร่แคสซิเทอไรด์มาถลุงจะได้อะไร
1. ดีบุก
2. สังกะสี
3. ทองแดง
4. ตะกั่ว

9.ธาตุในข้อใดที่ใช้ในอุตสาหกรรมเซรามิกส์
1. Pb
2. Sb
3. Cd
4. Zn

10.แร่รัตนชาติใดมีความแข็งแรงมากที่สุด
1. มรกต
2. โกเมน
3. ไพริน
4. เพทาย


เฉลย
1) 1
2) 1
3) 1
4) 3
5) 4
6) 2
7) 3
8) 2
9) 2
10) 1

3.5 บรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร

 บรรจุภัณฑ์อาหารเป็นวิทยาการที่รวมเทคโนโลยี 2 สาขาเข้ามาด้วยกัน คือ เทคโนโลยีอาหารและเทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ สืบเนื่องจากเป็นวิทยาการที่เกี่ยวเนื่องกับคุณภาพของชีวิต เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์จึงได้รับการพัฒนาและประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารตลอดมา ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา บรรจุภัณฑ์ได้สถาปนาตัวเองในสถานะของวิทยาการใหม่ อุตสาหกรรมอาหารได้ตระหนักถึงความสำคัญของบรรจุภัณฑ์ที่มีต่อความสำเร็จของอุตสาหกรรมอาหาร ดังนั้นนวัตกรรมทางด้านวัสดุบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ได้ทยอยกันเกิดขึ้น เช่น ถุงต้มในน้ำร้อนได้ (Retort Pouch) การออกแบบเครื่องจักรใหม่ เช่น เครื่อง Form-Fill-Seal และกระบวนการผลิต เช่น การผลิตนมกล่องเพื่อสนองกับความต้องการของผู้อุปโภคบริโภคในนานาประเทศทั่วโลก

ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงต่อการพัฒนาบรรจุภัณฑ์อาหาร คือ สถานะการค้าระหว่างประเทศ ในสภาพที่โลกไม่ได้ถูกแบ่งกั้นด้วยเขตแดนต่างๆ สินค้าต่างๆ สามารถกระจายได้ไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้ ผลกำไรและปริมาณการค้าที่ไม่มีเขตจำกัดทำให้การค้าระหว่างประเทศขยายมากขึ้นทุกปี บรรจุภัณฑ์อาหารที่ใช้ในการตบแต่งสินค้าสำหรับแต่ละภูมิภาคหรือแต่ละประเทศย่อมแตกต่างกันไป เริ่มจากระดับการป้องกันย่อมต้องดีขึ้นกว่าเดิมเพราะจำเป็นต้องขนส่งระยะไกลขึ้น และยังต้องแข่งขัน ณ จุดขายที่มีสินค้าจากนานาประเทศทั่วโลกมาวางแข่งกัน กฎเกณฑ์และข้อบังคับที่เกี่ยวกับอาหารและบรรจุภัณฑ์ในแต่ละประเทศย่อมแปรตามกันไปด้วย ความสำเร็จขององค์กรใดๆ ในอุตสาหกรรมแปรรูปเกษตร จึงจำต้องปรับสถานะและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ตามไปด้วย การควบคุมคุณภาพอาหารและกระบวนการที่จะทำให้มีต้นทุนการผลิตน้อยที่สุดเป็นหนทางการอยู่รอดในยุคนี้

ดังนั้น การพัฒนาระบบบรรจุภัณฑ์ และการปรับปรุงระบบการขนส่งในแต่ละประเทศ ถือเป็นกุญแจสำคัญที่สามารถเปิดประตูสู่การลดความเสียหายและสร้างความมั่นใจได้ว่า อาหารสามารถนำไปส่งถึงมือผู้ที่ต้องการได้โดยปลอดภัย





3.4 วิตามินเเละเกลือเเร่

วิตามิน

เป็นสารอาหารที่ร่างกายของเราต้องการในปริมาณน้อย แต่ก็ไม่สามารถขาดได้ ถ้าขาดจะทำให้ระบบร่างกายของเราผิดปกติ หรือเกิดโรคต่างๆ ได้ วิตามินแบ่งออกเป็น 2 พวก ได้แก่
1. วิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามิน เอ ดี อี เค
2. วิตามินที่ละลายในน้ำ ได้แก่ วิตามินซี และวิตามินบีรวมอ่านเพิ่มเติม



3.3 โปรตีน

 ป็นสารที่พบมากที่สุดในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต โดยทั่วไปในเซลล์ของพืชและสัตว์มีโปรตีนอยู่มากกว่าร้อยละ 50 ของน้ำหนักแห้ง  โปรตีนเป็นสารชีวโมเลกุลที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่และมีโครงสร้างที่ซับซ้อน   อ่านเพิ่มเติม


3.2 คาร์โบไฮเดรต

 ป็นสารชีวโมเลกุลที่สำคัญที่เป็นองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด คำว่าคาร์โบไฮเดรตมีรากศัพท์มาจากคำว่า คาร์บอน(carbon) และคำว่า ไฮเดรต (hydrate) อิ่มตัวไปด้วยน้ำ ซึ่งรวมกันก็หมายถึงคาร์บอนที่อิมตัวไปด้วยน้ำ เนื่องจากสูตรเคมีอย่างง่ายก็คือ (C•H2O) n ซึ่ง n≥3 โดยคาร์โบไฮเดรตจัดเป็นส อ่านเพิ่มเติม



ข้อสอบบทที่ 3

  1.สารชีวโมเลกุลชนิดใดมีมากที่สุดของน้ำหนักแห้งในร่างกายคน 1 : ไขมัน 2 : โปรตีน 3: คาร์ไบไฮเดรต 4 : กรดนิวคลีอิก 2.สารในข้อใดเมื่อนำมาทดสอบ...